News

DeFi อนาคตทางการเงินจะไปทางไหน?

DeFi อนาคตทางการเงินจะไปทางไหน? DeFi เป็นบริการทางการเงินแบบกระจายศูนย์บนระบบบล็อกเชน ไม่พึ่งพาตัวกลาง โดยใช้กลไกควบคุมการดำเนินการต่างๆ ให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดผ่านสัญญาอัจฉริยะ (smart contract)

ดังนั้น จุดสำคัญของโครงการ DeFi จึงอยู่ที่ความน่าเชื่อถือ การทำงานอย่างถูกต้อง และความปลอดภัยของเทคโนโลยีเป็นหลัก ซึ่งแตกต่างจากบริการทางการเงินรูปแบบดั้งเดิมที่ความสำคัญจะอยู่ที่การปฏิบัติงานของผู้ให้บริการอย่างสถาบันการเงิน

สกุลเงินดิจิทัล และแอปพลิเคชั่นแบบกระจาย (dApps) เป็นตัวอย่างที่ดีของระบบการเงินรูปแบบใหม่ในโลกดิจิทัลที่ไม่ต้องพึ่งพาตัวกลาง โดยไม่มีองค์กรใดที่มีอำนาจใรการควบคุมทั้งหมด อย่างไรก็ดีระบบการทำงานดังกล่าวมีความสามารถในการทำงานได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพสูง เนื่องจากระบบดังกล่าวเป็นระบบ peer-to-peer ซึ่งผู้ใช้สามารถโอน รับ และแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลกับใครก็ได้ในโลก โดยมีค่าธรรมเนียมเพียงเล็กน้อย หรืออาจไม่มีเลย

อีกทั้ง บุคคลที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบการเงินแบบรวมศูนย์สามารถเข้าถึง DeFi และ dApps ได้อย่างง่ายดาย ส่งผลให้ DeFi ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว และมีมูลค่าตลาดทะลุ 1 พันล้านดอลลาร์

ข้อดีของระบบกระจายอำนาจทางการเงิน

-การเข้าถึงการเงินแบบกระจายอำนาจและความเป็นส่วนตัว: ทุกคนที่มีกระเป๋าเงินดิจิทัลสามารถใช้แพลตฟอร์มได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน และไม่ต้องให้ข้อมูลส่วนบุคคล
-เอกราช: ไม่มีอำนาจจากส่วนกลางที่มีอำนาจในการควบคุมทรัพย์สินและธุรกรรมของคุณ
-ความโปร่งใส: ข้อมูลเปิดเผยต่อสาธารณะและทุกคนสามารถเข้าถึงได้
-ความปลอดภัย: มีความปลอดภัยมากกว่าการเงินแบบรวมศูนย์เนื่องจากวิธีการเข้ารหัสต่างๆ ข้อมูลจะกระจายไปตามโหนดต่างๆทำให้แฮกเกอร์เข้าถึงได้ยากขึ้น
-ไม่มีคนกลางอีกต่อไป: DeFi ไม่จำเป็นต้องมีคนกลางดังนั้นจึงเชื่อมต่อผู้ใช้โดยตรงโดยไม่ต้องตัดกำไรหรือธุรกรรม

ปัจจุบันมีมูลค่าสินทรัพย์ที่อยู่ในแพลตฟอร์ม DeFi หรือที่เรียกว่า Total Locked Value (TVL) มีมูลค่ามากถึง 99.57 พันล้านดอลลาร์แล้ว จุดเริ่มต้นที่ทำให้ DeFi เกิดเป็นกระแสคือแพลตฟอร์ม Compound ที่มีการให้ reward ในรูปแบบ governance token ของตัวเอง ทำให้มีหลายแพลตฟอร์มเริ่มนำโมเดลนี้ไปใช้ เช่น Sushiswap และประสบความสำเร็จจนทำให้มีผู้ใช้งานถล่มทลาย และกลายเป็นการจุดกระแสของ DeFi ขึ้นมา ปัจจุบันมีแพลตฟอร์ม ที่ประสบความสำเร็จมากมาย ไม่ว่าจะเป็น แพลตฟอร์มการให้กู้ยืมเงินอย่าง AAVE ที่มี TVL สูงเกือบหมื่นล้านดอลลาร์ หรือแพลตฟอร์มที่ให้บริการ stablecoin swaps อย่าง curve ที่เติบโตตามปริมาณการใช้ stablecoin ที่มากขึ้น

ถ้าเราสังเกตดี ๆ ทั้งการสร้าง Asset, การปล่อยกู้, การค้ำประกัน ทั้งหมดนี้เป็นฟังก์ชันที่ถูกผูกขาดโดยธนาคารและสถาบันการเงินที่ต้องมีการขอใบอนุญาต รวมไปถึงค่าธรรมเนียม แต่มันสามารถเกิดขึ้นได้แล้วใน DeFi ถ้าเราดูในแง่ของคอนเซ็ปต์ทางเทคโนโลยี ก็เป็นไปได้ว่ามันอาจจะกลายเป็นธนาคารหรือระบบการเงินในอนาคตที่ทุกคนมีส่วนร่วมได้